วันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพร



ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพร
1. ใช้ให้ถูกต้น สมุนไพรมีชื่อซ้ำกันหรือใกล้เคียงกันมากและบางท้องถิ่นก็เรียกไม่ เหมือนกันจึงต้องรู้จักสมุนไพรและใช้ให้ถูกต้น
2.ใช้ให้ถูกส่วน ต้นสมุนไพรไม่ว่าจะเป็นราก ใบ ดอก เปลือก ผล เมล็ด จะมีฤทธิ์ไม่ เท่ากัน บางทีผลแก่ผลอ่อน ก็มีฤทธิ์ต่างกันด้วย ต้องรู้ว่าส่วนใด ใช้เป็นยาได้
3. ใช้ให้ถูกขนาด สมุนไพรถ้าใช้น้อยไป ก็รักษาไม่ได้ผล แต่ถ้ามากไปก็อาจเป็น อันตรายหรือเกิดพิษต่อร่างกายได้
4. ใช้ให้ถูกวิธี ยาสมุนไพรแต่ละชนิด นำมาใช้ต่างกัน มีต้ม, บดเป็นผง, ดอง, ฝน, กิน, ทา, ถูนวด, อบ, รม, หรือ สูดดม เป็นต้น จะต้องรู้วิธีใช้ให้ถูกต้อง
5. ใช้ให้ถูกกับโรค ต้องดูสรรพคุณให้แน่ชัด ว่าใช้แก้โรคอะไร เช่น ท้องผูกต้องใช้ ยาระบาย
6. รักษาความสะอาด ต้องสะอาด ทั้งเครื่องใช้ตัวยา มือ และ สิ่งประกอบอื่นๆ

อาการแพ้ที่อาจพบได้จากการใช้ยาสมุนไพร


1. ผื่นขึ้นตามผิวหนังอาจเป็นตุ่มเล็กๆ ตุ่มโตๆ เป็นปื้นหรือเป็นเม็ดแบนอาจบวม ที่ตาหรือริมฝีปาก
2. เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน (หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง)
3. ประสาทรับความรู้สึกทำงานไวเกินปกติ เช่น เพียงแตะผิวหนังก็รู้สึกเจ็บ ฯลฯ
4.ใจสั่น ใจเต้น หรือรู้สึกวูบวาบคล้ายหัวใจจะหยุดเต้น และเป็นบ่อยๆ
5. ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเหลือง เขย่าเกิดฟองสีเหลือง (เป็นอาการของดีซ่าน) อาการนี้แสดงถึงอันตรายร้ายแรง ต้องรีบไปพบแพทย์
อาการเจ็บป่วยและโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพรรักษา
หากผู้ป่วย มีอาการข้างต้น แต่รุนแรง ควรไปหาหมอ หรือไปโรงพยาบาล และถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ ไม่ควรใช้ยาสมุนไพร หรือ ซื้อยามากินเอง ควรไปพบแพทย์ หรือโรงพยาบาล
1. ไข้สูง (ตัวร้อนมาก) ตาแดง ปวดเมื่อย ซึม บางทีเพ้อ จับไข้วันเว้นวัน
2. ไข้สูง ตัวเหลือง (ดีซ่าน) อ่อนเพลีย อาจมีเจ็บ แถวๆชายโครง
3. ปวดท้องแถวๆรอบสะดือ หรือต่ำจากสะดือลงมาทางขวา เอามือกดเจ็บ ท้องแข็งอาจมีไข้ อาจมีท้องผูก อาจมีคลื่นไส้อาเจียนด้วย
4. เจ็บแปลบๆในท้อง ปวดท้องรุนแรง อาจมีตัวร้อน คลื่นไส้อาเจียนด้วย บางทีเคยปวดท้องบ่อยๆ แต่เพิ่งมาปวดแรงตอนนี้
5. อาเจียน หรือ ไอ มีเลือดออกมาด้วย ควรนำส่งโรงพยาบาล โดยด่วน
6. ท้องเดินอย่างแรง ถ่ายเป็นน้ำ บางทีเหมือนน้ำซาวข้าว บางทีพุ่งออกมา ถ่ายติดติดกัน อ่อนเพลียมาก ตาลึก ผิวแห้ง ถ้าเป็นเด็ก ไม่ควรให้ถ่ายเกิน 3 ครั้ง ถ้าผู้ใหญ่ไม่ควรให้เกิน 5 ครั้ง ต้องรีบส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ถ้าอยู่ไกลโรงพยาบาล ให้ไปแจ้งที่สถานีอนามัย หรือ อสม. หาน้ำเกลือแห้งมาละลายน้ำให้กิน ถ้าหาไม่ได้ ให้เอาเกลือที่ใช้ในครัว มาละลายน้ำ ถ้ามีน้ำตาลผสมลงไปนิดหน่อยให้กิน ในระหว่างพาส่งโรงพยาบา
7. ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือด บางทีเกือบไม่มีเนื้ออุจจาระเลย ถ่ายบ่อย อาจถึง 10 ครั้งใน 1 ชั่วโมง และเพลียมาก
8. ในเด็กอายุต่ำกว่า12 ปี ไข้ตัวร้อนมากไอมากหายใจเสียงผิดปกติ หน้าเขียว หรือ ไม่มีไอ แต่ซึมไข้ลอย (คือไข้ไม่ลดตัวร้อนอยู่นาน ตัวร้อนตลอดเวลา)
9. มีเลือดสดๆออกมา จากทางใดก็ตาม อาจเป็นทางช่องคลอด เป็นต้น
10. โรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคเรื้อรัง, โรคที่ดูอาการไม่ออกว่าเป็นอะไรกันแน่, งูพิษกัด, สุนัขบ้ากัด, บาดทะยัก (ตื่นเต้นง่าย คอแข็ง ขากรรไกรแข็ง หนาวสะท้าน มีไข้เล็กน้อย ปวดหัว), กระดูกหัก, มะเร็ง, วัณโรค, กามโรค, ความดันเลือดสูงปอดบวม, โรคตา

1 ความคิดเห็น:

nuch กล่าวว่า...

วันนี้อาจารย์พูดตลกดี แต่ฟังๆไปนานๆ ก็มีความคิดว่าอาจารญ์เขากินยาไม่ได้เขย่าขวดแน่เลย จุ๊ ๆ อย่าไปบอกอาจารย์เขานะ ฮิๆ